Sitting Pikachu Pokemon

สบู่มะขามน้ำผึ้ง




ส.1 การสืบค้น
ข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์


น้ำผึ้ง 

เป็นผลิตผลของน้ำหวานจากดอกไม้ และจากแหล่งน้ำหวานอื่น ๆ ที่ผึ้งงานนำมาเก็บสะสมไว้ และผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และทางกายภาพบางประการ แล้วสะสมไว้ในรังผึ้ง

วิธีการผลิตน้ำผึ้ง

             เมื่อผึ้งงานเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ลงสู่กระเพาะน้ำหวาน จะมีเอนไซม์จากต่อมน้ำลายขับออกมาเปลี่ยน หรือเมตาบอไลซ์น้ำตาลกลูโคสและฟรุกโทสให้เป็นน้ำตาลแปรรูป(Invert Sugar) คือ น้ำตาลลีวูโลส เดกซ์โทรส และมอลโทส นอกจากนั้นยังมีน้ำตาลอื่น ๆ อีก แต่มีจำนวนน้อยมาก ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ผึ้งเริ่มบินกลับรัง ในขณะที่ผึ้งกระพือปีกจะเกิดพลังงานความร้อนช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์ ตลอดจนช่วยเผาผลาญลดความชื้นในน้ำหวานให้กลายเป็นน้ำผึ้งเร็วขึ้น เมื่อผึ้งงานกลับถึงรัง จะคายน้ำหวานแปรรูปนี้ให้กับผึ้งงานประจำรัง ซึ่งจะรับกันด้วยปากต่อปาก น้ำหวานแปรรูปนี้ยังไม่เป็นน้ำผึ้งที่สมบูรณ์ เพราะยังมีความชื้นหรือน้ำในน้ำหวานจำนวนมากถึง 30-40% ต่อมาผึ้งงานประจำรัง จะนำน้ำหวานนี้ไปเก็บในหลอดรวงน้ำผึ้ง ตอนเย็นผึ้งกลับรังกันเป็นส่วนใหญ่ จะช่วยกันกระพือปีก ช่วยให้มีการระเหยของน้ำหวานอีก จนได้น้ำผึ้งที่สมบูรณ์ คือ มีน้ำเหลืออยู่เพียง 20-25% เท่านั้น หลังจากนั้นผึ้งงานจะใช้ไขผึ้งปิดหลอดรวงที่เก็บน้ำผึ้งไว้ใช้เพื่อให้พลังงานในชีวิตประจำวัน และยามขาดแคลนอาหารต่อไป

            เมื่อผึ้งงานสร้างฝาขี้ผึ้งปิดฝาหลอดรวมแล้ว แสดงว่าน้ำผึ้งเข้มข้นได้ที่แล้ว ผู้เลี้ยงจะนำรวงผึ้งมาปาดฝารวงด้วยมีดปาดฝา แล้วจึงนำรวงผึ้งนั้นเข้าเครื่องสลัดหมุน ให้น้ำผึ้งไหลออกจากรวงโดยแรงเหวี่ยง จะได้น้ำผึ้งที่สะอาด แต่อาจมีเศษไขผึ้ง หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ติดมา จึงต้องกรองด้วยผ้ากรอง แล้วเก็บไว้ในถังสูงที่มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันมดและฝุ่นละอองตกลงไปในถัง การบรรจุน้ำผึ้งจากถังลงสู่ขวดจะไขก๊อกให้น้ำผึ้งจากก้นถังลงสู่ขวดบรรจุ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีฟองอากาศติดปนเข้ามา

ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดี

-  มีความข้น และหนืดพอสมควร ซึ่งแสดงว่ามีน้ำน้อย น้ำผึ้งที่ดีไม่ควรมีน้ำเกินร้อยละ 21 หากมีน้ำเจือปนมากกว่านั้น จะทำให้จุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตและทำลายคุณค่าของน้ำผึ้งได้
- มีสีตามธรรมชาติ ตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล ใส ไม่ขุ่นทึบ
- มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งและดอกไม้ตามแหล่งที่ได้มา ปกติพืชที่ใช้ผลิตน้ำผึ้งมีหลายชนิด ที่นิยมคือ ลำไย ลิ้นจี่ และสาบเสือ น้ำผึ้งลำไยนับเป็นน้ำผึ้งที่มีรสหอมหวานเป็นพิเศษเหนือกว่าน้ำผึ้งจากพรรณไม้อื่นทั้งหมด
- ปราศจากกาก ไขผึ้ง หรือเศษตัวผึ้งปะปน รวมทั้งวัสดุต่าง ๆ แขวนลอยอยู่
- ปราศจากลิ่น รส ที่น่ารังเกียจอื่นใด หรือกลิ่นบูดเปรี้ยว ไม่มีฟอง
- ไม่มีการใส่สารปรุงแต่งสี กลิ่น รสใด ๆ ลงในน้ำผึ้ง

ประโยชน์ของน้ำผึ้ง

- ช่วยคลายความเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก เล่นกีฬา อดนอน หรือดื่มสุรา
- ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น
- บำรุงประสาทและสมองให้สดชื่น แจ่มใส
- ช่วยระงับประสาท อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ แก้ตะคริว
- บรรเทาอาการไอ และหวัด
- ลดกรดในกระเพาะ ช่วยให้อาหารย่อยดีขึ้น ท้องไม่ผูก เนื่องจากน้ำผึ้งถูกดูดซึมได้ทันที เมื่อสัมผัสลำไส้ ต่างจากน้ำตาลชนิดอื่นที่คง   ค้างอยู่ และถูกเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์หรือกรด
- แก้เด็กปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากน้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดีกว่าน้ำตาลชนิดอื่น จึงสามารถดูดน้ำ    กลับและอุ้มน้ำไว้ ทำให้เด็กไม่ปัสสาวะรดที่นอน
- แก้โรคโลหิตจาง เนื่องจากน้ำผึ้งมีธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบิน ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
- แก้ความดันโลหิตสูง   


น้ำผึ้งกับความงาม

น้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ถูกใช้เพื่อความงามมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและเส้นผม เนื่องจากคุณสมบัติตามธรรมชาติที่มีในน้ำผึ้ง ดังนี้

Humectant น้ำผึ้งเป็นสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ คือสามารถดึงและเก็บความชื้นไว้ได้ ทำให้ผิวหนังมีความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นต่างๆ ได้แก่ คลีนซิ่งครีมแชมพู และคอนดิชันเนอร์ และเนื่องจากน้ำผึ้งมาจากธรรมชาติและไม่ระคายเคืองผิวหนัง จึงเหมาะอย่างมากกับผลิตภัณฑ์สำหรับผิวบอบบางและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

Antioxidant น้ำผึ้งมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนต์ สารแอนตี้ออกซิแดนต์มีบทบาทในการปกป้องผิวหนังจากการทำลายของแสง UV และช่วยในการเสริมสร้างเซลส์ผิวหนังใหม่

Antimicrobial Agent น้ำผึ้งมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านจุลินทรีย์และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เนื่องจาก
- น้ำผึ้งมีปริมาณน้ำตาลสูง เป็นการจำกัดปริมาณน้ำที่แบคทีเรียจะสามารถเติบโตได้
- มีความเป็นกรดสูง (pH ต่ำและปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งทำให้แบคทีเรียไม่ได้รับไนโตรเจนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต
- มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และแอนตี้ออกซิแดนต์อยู่ในน้ำผึ้งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย


มะขาม

 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล 

ลักษณะทั่วไป 

ต้น :     เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ
ใบ :     เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่
ดอก :   ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว
ผล :     เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่            ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

การขยายพันธุ์ 


เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง


ส่วนที่ใช้ 
เนื้อไม้ ใบแก่ ใบอ่อนและดอก เนื้อในผล เมล็ดแก่

สรรพคุณ 
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี





กรอบแนวคิดในการดำเนินงานรายบุคคล



ข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ที่เลือกมาศึกษาวิเคราะห์และพัฒนา ชนิด/ประเภทสินค้าและบรรจุภัณฑ์

1.วิเคราะห์ข้อมูลจากผลิตภัณฑ์

ชื่อสินค้า : สบู่มะขามน้ำผึ้ง
ประเภท : ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
สถานะผลิตภัณฑ์ : ก้อนสีน้ำตาลอมเหลือง
ส่วนประกอบ : กรีเซอร์ลีน  ลาโนลีน  วิตามินอี
สรรพคุณ : ทำให้หน้าดูขาวใสขึ้น
ลักษณะบรรจุภัณฑ์ : กล่องพลาสติก
ขนาด : สูง ซม. กว้าง 5.5 ซม. หนา ซม.
น้ำหนัก : 50 กรัม
ราคา : 80 บาท
ผู้ผลิต ธรรมรสฟาร์มผึ้ง
ที่อยู่ : 123 หมู่ที่ 5 ตำบล วังตะเคียน อำเภอ หนองมะโมง จังหวัดชัยนาท รหัสไปรษณีย์        
โทรศัพท์สถานประกอบการ  0862061814



2. วิเคราะห์ข้อมูลจากโครงสร้างบรรจุภัณฑ์


    




    


รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ : ใช้พลาสติกชนิด พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylne Terephthalate) เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกบกันสองชิ้น ชิ้นแรกเป็นตัวที่ใส่สบู่ ชิ้นที่สองเป็นฝาปิด แล้วใช้สก๊อตเทปใสปิดเพื่อปิดบรรจุภัณฑ์ ฉลากเป็นกระดาษสีเหลืองอ่อนพิมพ์ข้อความติดรอบตัวบรรจุภัณฑ์ ขนาด ยาว 19x2.5ซม. ปิดด้วยสก๊อตเทปใส 
ขนาด : ยาว 8 ซม. กว้าง 5.5 ซม. หนา 2 ซม.
รูปแบบการขาย : ก้อน
โทนสี : ขาว - ใส


3.วิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟิก



องค์ประกอบของกราฟิก
ใช้ฟอนต์ Arial Unicode MS ทั้งหมด
ข้อมูลบนฉลาก
1. ชื่อตราสินค้า
2. ชื่อผลิตภัณฑ์ ภาษาอังกฤษ
3. ชื่อผลิตภัณฑ์ ภาษาไทย
4. สรรพคุณ
5. ส่วนประกอบ
6. เลขที่จดแจ้ง
7. เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
บรรจุภัณฑ์สบู่มะขามน้ำผึ้ง นั้นยังไม่มีการออกแบบลวดลายกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ 

แต่มีฉลากติดชื่อ สินค้า,สรรพคุณ และเบอร์ติดต่อ


ส.2 การสร้างสรรค์สมมติฐาน



จากการสำรวจสินค้าจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเบื้องต้น จึงทำให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการดังนี้ คือ

ปัญหาที่เกิดขึ้น

 -ไม่มีความน่าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ ไม่สะดุดตา
 -
 -ไม่มีโลโก้แสดงความเป็นเอกลักษณ์
-
-ข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วน
-
-ฉลากสินค้าชำรุดได้ง่ายเนื่องจากเป็นกระดาษพิมพ์ข้อความธรรมดา
-
-ตัวบรรจุภัณฑ์แกะใช้งานลำบาก ไม่มีความแข็งแรง
-
-ไม่มีภาพกราฟิกสื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ จดจำได้ยาก


ความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

-ควรมีโลโก้ของกลุ่มและตราสินค้าให้ชัดเจนกว่านี้
-
-ควรมีภาพกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อความน่าสนใจ
-
-แพ็คเกจควรมีความแข็งแรงและแกะใช้งานสะดวก
-
-ควรมีข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบ
-
-ทางผู้ประกอบการต้องการให้แพ็คเกจมีความเรียบง่ายแต่สวยงาม มีตราสัญลักษณ์ครบถ้วน

ฉลากสินค้าเดิม


ฉลากที่ออกแบบใหม่

พัฒนาครั้งที่ 1


พัฒนาครั้งที่ 2





ส.3 การสรุปผล

โครงการการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม สบู่มะขามน้ำผึ้ง ของธรรมรสฟาร์มผึ้ง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท


ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 แบบที่ออกแบบพัฒนาใหม่


                                 ด้านหน้า

                               ด้านหลัง



เขียนโดย : นางสาวแพรวพรรณ พุ่มพวง รหัสประจำตัว 5511302605 สาขาวิชาศิลปกรรม 
แขนงออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม










































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น